Dissolution of solids in Liquid without reaction.
RESEARCH & DEVELOPMENT
MISCIBLE AGITATOR TESTING CENTER
Dissolution of solids in Liquid without reaction.
[MixBeam] ..... [Saw Disc]
[Jetcone] ..... [Viscrop.2B]
จุดประสงค์ของการทดลอง คือ
ศึกษาว่าชนิดของใบกวนมีผลต่องาน Dissolution of solids in Liquid without reaction หรือไม่
อุปกรณ์ในการทดลอง
(1). Tank Dia. 200 mm x SH. 300 mm
(2). Liquid level. 250 mm โดยใช้ของเหลว คือ น้ำ
(3). Volume of Solid (Salt) ตวงเกลือใส่ภาชนะขนาด Dia. 50 mm x SH. 40 mm
ขั้นตอนการทดลอง
(1). ทดสอบใบกวนกับน้ำเปล่าก่อนทำการทดสอบจริงเพื่อกำหนดให้ Reynolds in Actual (เป็นคำที่ผมใช้เรียก) มีค่าเท่ากัน โดย Reynolds in Actual นั้น ผมถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการทำงานจริงๆ เนื่องจากทางทฤษฏีแล้วการหา Reynold เพื่อกำหนดค่าความปั่นป่วนใช้ characteristic length สำคัญเฉพาะ Dia.of Impeller เท่านั้น ซึ่งจริงๆแล้วมี characteristic length อื่นที่ต้องคิดมากมายทำให้ค่า Re ทางทฤษฏีนั้นเป็นเรื่องซับซ้อนและเข้าใจยากสักหน่อยสำหรับงานด้าน Fluid Mixing เว้นแต่จะเจองานจริงๆมาเยอะถึงจะเข้าใจได้ว่า characteristic length มีผลต่อ Reynolds in Actual แบบไหนอย่างไร
(2). จากข้อหนึ่งผมต้องทดสอบเพื่อให้ใบกวนแต่ละชนิดสร้าง Vortex Deepness ที่เท่ากันคือ 80 mm จาก Top liquid level ด้วยเหตุผลที่ใบกวนแต่ละใบนั้นมีพฤติกรรมต่างกันหากนำมาทดสอบโดยใช้ความเร็วรอบที่เท่ากันนั้นไม่ได้เลยครับ และจากการควบคุม Reynolds in Actual ผ่านทางการปรับ Vortex Deepness ให้เท่ากันแล้ว ผมก็ได้ Output Speed ออกมา คือ
[MixBeam = 300 RPM]
[Saw Disc = 570RPM]
[Jetcone = 450RPM]
[Viscrop.2B = 360RPM]
(3). Dia.of Impeller คือ
[MixBeam = 140mm]
[Saw Disc = 80mm]
[Jetcone = 100mm]
[Viscrop.2B = 120mm]
(4). เทเกลือลงไปก่อนเริ่มเดินใบกวนตามความเร็วรอบต่างๆที่ตั้งค่าไว้โดยใช้ Inverter ในการควบคุม
(5). เริ่มเดินใบกวนตามรอบที่กำหนดจากข้อ.2 โดยใช้เวลาในการทำงาน 30 วินาที และ หยุดการทำงานของใบกวน
สรุปผลการทดสอบ
(1). Solid ที่เติมลงไปในปริมาณที่เท่ากันส่งผลต่อระยะเวลาในการสร้าง Vortex Deeepness ที่ทดสอบไว้ก่อนเริ่มในระดับที่ต่างกัน
(2). ปริมาณเกลือที่เหลืออยู่หลังหยุดเดินใบกวนนั้นมีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน
(3). ค่า Reynolds in Actual ที่เซ็ทไว้ที่ระดับเท่ากันส่งผลให้ได้อัตราการละลายที่ใกล้เคียงกัน หรือ อาจจะกล่าวได้ว่าเท่ากัน
(4). ชนิดของใบกวนมีผลต่ออัตราการละลายแน่นอน, หากเราดูจากสิ่งที่ผมทดสอบเผินๆจะเห็นว่าใบกวนทั้งสี่ชนิดให้อัตราการละลายเท่ากัน แต่จริงๆแล้วนั้นไม่ถูกต้องซะทีเดียวครับ เนื่องจากผมกำหนดให้ใบกวนทำงานที่ระดับ Reynolds in Actual เดียวกัน ซึ่งแน่นอนว่า Power Absorb ที่ใช้ในการสร้างความปั่นป่วนในระดับที่ละลายเกลือได้แค่นี้ ในค่าที่ต่างกัน และส่งผลให้การสร้าง Agitator จริงนั้นมีอุปกรณ์ทาง Mechanic ที่ต่างกันอีก
(5). เราไม่อาจจะเลือกใช้ใบกวนชนิดไหนก็ได้มาแทนกันแล้วปรับให้อัตราการละลายได้ในอัตราที่เท่ากัน ถึงแม้เราจะได้ผลการทดสอบ Reynolds in Actual ต่อระบบที่รู้แน่ชัดว่าอัตราการละลายจะใช้เวลาเท่านั้นเท่านี้
(6). หากจะเลือกใช้ใบกวนสักใบจากผลการทดลองนี้ผมจะเลือกใบกวน Viscrop.2B ครับ เนื่องจาก ความเร็วรอบที่ Reynolds in Actual ที่ได้นั้นเหมาะและตรงกับพฤติกรรมของใบกวนมากที่สุดและส่งผลให้ได้ Power Absorb น้อยที่สุดเช่นกัน, และใบกวน MixBeam เป็นใบกวนทางเลือกลำดับสอง, ส่วนใบกวนที่เหลือนั้น ไม่สามารถใช้งานได้ครับ
Thank You
Mr.Sataporn Liengsirikul
(Agitator Designer)
ID Line : sataporn.apl
Miscible Technology Co., Ltd
www.miscible.co.th